แนวข้อสอบ นักวิชาการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติการ สปก (สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) 2563
แนวข้อสอบ นักวิชาการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติการ สปก (สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) 2563 อัพเดท 2563 (เนื้อหา ข้อสอบ เฉลย และฟรีไฟล์เสียง MP3 การสอบสัมภาษณ์) ครบจบในเล่มเดียว คู่มือเตรียมสอบจัดทำเนื้อหาตามเกณฑ์ประกาศรับสมัครสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก) 2563 มีให้เลือกทั้งแบบไฟล์ PDF 395. และหนังสือฟรีค่าส่ง สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @dokkooon
เนื้อหา อ้างอิงจากเกณฑ์ในประกาศ
– ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก)
– ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น
– แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น
– การจัดทำงบพิสูจน์ยอดบัญชีเงินฝากธนาคาร
– ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
– ความรู้เกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ
– ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
– แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562
– แนวข้อสอบระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562
– พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
– แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
– ความรู้รอบตัว สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน
– เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
– ไฟล์เสียง MP3 เทคนิคการแต่งกาย และ ตัวอย่างสคริปคำตอบ การสอบสัมภาษณ์เข้างานราชการ
คู่มือสอบแนวข้อสอบบรรจุตำแหน่ง นักวิชาการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติการ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สปก. อัพเดทรวบรวมเนื้อหาแนวข้อสอบตามเกณฑ์การวัดผลในประกาศสอบของหน่วยงาน ครบจบในเล่มเดียว ทั้งเนื้อหา ข้อสอบ พร้อมเฉลย มีให้เลือกทั้งแบบไฟล์ PDF และแบบหนังสือ
ประกาศรับสมัครสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก) 2563
[gview file=”https://dokkooon.com/wp-content/uploads/2020/03/สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม-ประกาศรับสมัครสอบ-2563-1.pdf”]ประวัติความเป็นมาสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก)
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้มีกลุ่มชาวไร่ชาวนา นักศึกษา นักการเมือง เดินขบวนเรียกร้องหลายครั้ง สาเหตุสำคัญมาจาก ปัญหาที่ดินทำกินและการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน รัฐบาลในสมัย ฯพณฯ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ จึงได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 โดยมีหลักการและเหตุผลดังนี้
“ปัจจุบันปรากฎว่า เกษตรกรกำลังประสบความเดือดร้อน เนื่องจากต้องสูญเสียสิทธิในที่ดินและกลายเป็นผู้เช่าที่ดินต้องเสีย ค่าเช่าในอัตราสูงเกินควร ที่ดินขาดการบำรุงรักษา จึงทำให้อัตราการผลิตผลเกษตรกรรมอยู่ในระดับต่ำ เกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรม และเสียเปรียบจากการเช่าที่ดิน จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการแก้ไข ปัญหาดังกล่าวโดยด่วนที่สุด โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินและให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์มากที่สุด”
ผลจากการประกาศใช้พระราชบัญญํติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2518 เรียกโดยย่อว่า ส.ป.ก. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุง สิทธิการถือครองที่ดิน การกระจายสิทธิในที่ดิน ทั้งในที่ดินของรัฐและที่ดินของเอกชน ที่มีมากเกินความจำเป็น ให้ไปสู่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินพร้องทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาอาชีพ ปรับปรุง ส่งเสริม และสนับสนุน ปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่าง ๆ และให้มีการจัดตั้งกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรรม เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน และใช้จ่ายเพื่อการปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
ความเป็นมาของปฏิรูปที่ดิน
เมื่อพูดถึงการปฏิรูปที่ดิน ก็มักจะมีผู้เข้าใจผิดอยู่เสมอว่า เป็นวิธีการและแนวความคิดที่ประเทศซึ่ง ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์นำมาใช้ก่อนประเทศอื่น ซึ่งความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ถ้าเราได้ศึกษาถึงทฤษฎีเศรษฐกิจ ของลัทธิมาร์กซิสม์แล้ว เราจะพบว่าแนวความคิดในการกระจายการถือครอง ที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตของประเทศนั้น จะไม่ มีอยู่ในทฤษฎีเศรษฐกิจแบบมาร์กซิสม์ ตรงกันข้าม ทฤษฎีเศรษฐกิจแบบมาร์กซิสม์จะเน้นถึงการรวมกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เพื่อให้การผลิตทางการเกษตร เป็นการผลิตขนาดใหญ่ โดยรัฐบาลเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ส่วนเกษตรกรจะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่จะมีฐานะเป็นกรรมกรในไร่นา เท่านั้น อย่างไรก็ตาม คอมมิวนิสต์เป็นพวกแรกที่ได้นำวิธีการปฏิรูปที่ดินมาใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมืองอย่างสำคัญและจริงจัง จนทำให้พวกตนประสบชัยชนะในที่ต่าง ๆ
ในเรื่องของการปฏิรูปที่ดินนั้น ถ้าเราได้ศึกษาถึงความเป็นมาของมันแล้ว เราจะพบว่า การปฏิรูปที่ดินเป็นกลยุทธทางเศรษฐกิจ การเมือง ในการปกครองประเทศซึ่งได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่พอจะหาหลักฐานได้นั้น การปฏิรูปที่ดินเริ่มมีขึ้นใน อาณาจักรกรีก ในสมัยของจักรพรรดิโซลอน (Solon) และในสมัยของจักรพรรดิพิซิสทราตัส(Pisistratus) ซึ่งอยู่ในระยะเวลา ศตวรรษที่หกก่อนคริสต์กาล ในอาณาจักรโรมัน ก็ได้มีการปฏิรูปที่ดินในสมัยของจักรพรรดิกราชิ (Grachi) ซึ่งอยู่ในศตวรรษที่สอง ก่อนคริสต์กาล ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1789 การปฏิรูปที่ดินก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ในการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมของประเทศฝรั่งเศสในสมัยนั้น
อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปที่ดินที่ใช้ในสมัยโบราณ มีลักษณะเป็นการจัดสรรระบบการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินแบบประนีประนอม และมิได้มีการดำเนินการอย่างจริงจังมากนัก ดังนั้น วิธีการปฏิรูปที่ดินจึงเป็นแต่เพียงมาตราการที่ช่วยเหลือผ่อนปรนความกดดัน ทางการเมือง และช่วยให้ผู้ปกครองประเทศได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองของ ประเทศได้ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ส่วนการปฏิรูปที่ดินที่เกิดขึ้นในประเทศรัสเซีย การปฏิวัติใหญ่ ปี ค.ศ.1917 นั้น ได้มีการจัดระบบ การกระจายการถือครองที่ดินอย่างจริงจัง และด้วยวิธีรุนแรง ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไปนั้น เป็นการปฏิรูปที่ดินที่ได้ก่อ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจ และการเมืองอย่างมากมาย ซึ่งมีบางคนเรียกการปฏิรูปที่ดินดังกล่าวว่าเป็น “การปฏิวัติที่ดิน” ที่ได้ช่วยให้ผู้ปกครองประเทศสามารถสร้างอำนาจและรักษาเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศได้อย่างมั่นคง
จุดมุ่งหมายของการปฏิรูปที่ดินเพื่อที่จะช่วยลดช่องว่างความแตกต่างในฐานะความเป็นอยู่ของคนในสังคม และเพื่อสร้าง เสถียรภาพของการเมือง ทั้งนี้ก็โดยการให้ผลประโยชน์และความช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และชักนำให้เขาเหล่านั้นหันมาจงรักภักดีและสนับสนุนรัฐบาลที่ทำการปฏิรูปที่ดิน
แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย ปรากฏหลักฐานตั้งแต่ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยในปี 2476 นายปรีดี พนมยงค์ ได้เสนอแนวคิด ในการจัดระบบการ ถือครองที่ดิน โดยกล่าวว่า ให้รัฐบาลซื้อที่ดินจากประชาชน ที่ต้องการขาย แลัวนำมาพัฒนาทำคูทำคันนา จัดทำเป็นที่ดินประกอบ การเกษตรของรัฐ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา และมีการใช้วิชาการสมัยใหม่ จากนั้นให้ราษฎรมาเป็นลูกจ้าง ประกอบการเกษตร ของรัฐบาล แต่แนวคิดนี้ถูกคัดค้านเป็นอย่างมาก ต่อมา มีการเรียกร้องให้รัฐบาล แก้ไขปัญหาที่ทำกินจากบุคคลหลายกลุ่ม มีทั้งข้าราชการ นักการเมือง ชาวไร่ ชาวนา ดร.ไชยยงค์ ชูชาติ ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ได้ศึกษาปัญหาการถือครองที่ดิน และจัดรูปที่ดินขึ้น เพื่อให้พิจารณากำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาล ซึ่งการเคลื่อนไหวในครั้งนั้น ทำให้รัฐบาลสนใจปัญหาที่ดินทำกิน ของเกษตรกร และมีการจัดตั้ง กองทุนเพื่อจัดหาที่ดินให้เกษตรกร เมื่อเดือนพฤษภาคม 2513 เพื่อใช้ในการจัดหาที่ดินแปลงใหญ่ที่ เหมาะสม มาจัดสรรให้เกษตรกร ผ่อนส่ง ภายใน 15 – 20 ปี โดยคิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 10 ต่อปี และยังได้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อพิจารณาเรื่องการปฏิรูปที่ดินด้วย หลังปี 2516 ในช่วงที่แรงผลักดันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยทวียิ่งขึ้น ชาวนา ชาวไร่ นัดชุมนุมกันหลายครั้ง เพื่อเรียกร้องขอความข่วยเหลือจจากรัฐบาล เนื่องจากความเดือดร้อนไม่มีที่ดินทำกิน รัฐบาลในขณะนั้น โดย ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจแก้ไขปัญหา โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน และได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จนประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2518 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 มาตรา 81 ความว่า “ให้รัฐพึงส่งเสริมให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ และสิทธิในที่ดิน เพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึง โดยการปฏิรูปที่ดิน และวิธีการอื่นๆ” ที่มา
parich suriya –
แนวข้อสอบ นักวิชาการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติการ สปก อัพเดทตามประกาศสอบ 2563