รายละเอียดเพิ่มเติม
แนวข้อสอบ พนักงานสรรพสามิต กรมสรรพสามิต 2562
แนวข้อสอบ พนักงานสรรพสามิต กรมสรรพสามิต ปรับปรุงใหม่ เมษายน 2562 (เนื้อหา แนวข้อสอบ เฉลย และฟรีไฟล์เสียงการสอบสัมภาษณ์งานราชการ) รวมรวมเนื้อหาตามประกาศ รับสมัครกรมสรรพสามิต เนื้อหาครบจบในเล่มเดียว มีทั้งในรูปแบบไฟล์ PDF และหนังสือ เหมาะสำหรับใช้เป็นคู่มือเตรียมสอบบรรจุ ตำแหน่งพนักงานสรรพสามิต, ใช้ทบทวนเนื้อหาและเตรียมความพร้อม ให้มีความมั่นใจในการสอบมากยิ่งขึ้น
สารบัญเนื้อหาในคู่มือเตรียมสอบแนวข้อสอบ พนักงานสรรพสามิต กรมสรรพสามิต
– ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพสามิต
– พระราชบัญญัติภาษีสรรพาสามิต พ.ศ. 2560
– แนวข้อสอบพระราชบัญญัติภาษีสรรพาสามิต พ.ศ. 2560
– พระราชบัญญัติระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
– แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
– แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540
– แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540
– ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับทางราชการ พ.ศ. 2544
– แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับทางราชการ พ.ศ. 2544
– ประมวลจริยธรรมจรรยาบรรณข้าราชการพลเรือน
– ความรู้รอบตัว สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน
– เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
– ไฟล์เสียง MP3 เทคนิคการแต่งกาย และ ตัวอย่างสคริปคำตอบ การสอบสัมภาษณ์เข้างานราชการ
สรุปแนวข้อสอบ ตำแหน่งพนักงานสรรพสามิต อัพเดทเนื้อหาตาม รับสมัครกรมสรรพสามิต 2562 รวบรวมเนื้อหาตามเกณฑ์การคัดสรรในประกาศ ในเล่มประกาศไปด้วย เนื้อหา ข้อสอบ พร้อมเฉลย และมีไฟล์เสียงการเทคนิคการสอบสัมภาษณ์งานด้วย เหมาะสำหรับผู้มีเวลาน้อย ใช้เป็นคู่มือเตรียมสอบบรรจุ มีทั้งในรูปแบบไฟล์ PDF (ปริ้นได้ เปิดอ่านได้) และแบบหนังสือ
ประวัติตรากรมสรรพสามิต
รูปนกวายุภักดิ์ ภายใต้อุณาโลมเปล่งรัศมี อักษรตอนล่างว่า “สรรพสามิตต์” ริมขอบล่างมีลวดลายกนกล้อมรอบนกวายุภักษ์ ซึ่งมีปรากฏในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ต่อมาในปีพุทธศักราช 2493 ได้เปลี่ยนชื่อ “กรมสรรพสามิตต์” เป็น “กรมสรรพสามิต” แต่มิได้มีการเปลี่ยนแปลง คำว่า “สรรพสามิตต์” ในดวงตราประจำกรมแต่อย่างใด
การจัดตั้งกรมภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี มีลักษณะฟุ่มเฟือย และสินค้าและบริการที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ เป็นต้น
การจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ในประเทศไทยสันนิษฐานว่ามีการจัดเก็บตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแต่ไม่มีหลักฐาน มาปรากฏหลักฐานในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.2178) โดยกฎหมายลักษณะพระธรรมนูญได้กำหนดว่าได้เก็บอากรจากสุรา แต่อัตราเท่าใดและวิธีการจัดเก็บอย่างไร ไม่ได้ระบุไว้ แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สำหรับภาษีสรรพสามิตของไทยอาจกล่าวได้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากสินค้าสองประเภท คือ ฝิ่น และสุรา ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแยกจากกัน คือ กรมฝิ่นและกรมสุรา
ใน พ.ศ. 2474 กรมสุราได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมและจัดเก็บภาษี ไม้ขีดไฟที่ทำขึ้นในราชอาณาจักรด้วยอีกอย่างหนึ่ง และต่อไปอาจจะมีกิจการอย่างอื่นเพิ่มขึ้นอีกก็ได้นาม “กรมสุรา” ไม่เหมาะสมกับหน้าที่ราชการที่ปฏิบัติอยู่ จึงได้มีประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 เปลี่ยนนาม “กรมสุรา” เป็น “กรมสรรพสามิตต์” และในวันรุ่งขึ้นคือในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหม่อมเจ้าจิตรโภคทวี เกษมศรี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิตต์ เป็นคนแรก
ในปีพุทธศักราช 2476 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงการคลัง ให้แยกงานสรรพสามิตต์และงานฝิ่นออกจากกรมสรรพากรแล้วตั้งเป็น “กรมสรรพสามิตต์และฝิ่น” และในปีเดียวกันนั้นได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 ให้แก้นาม “กรมสรรพสามิตต์และฝิ่น” เป็น “กรมสรรพสามิต” อ่าน…
parich suriya –
หนังสือสอบพนักงานสรรพสามิต กรมสรรพสามิต 2562