รายละเอียดเพิ่มเติม
แนวข้อสอบ นักวิชาการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติการ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 2561
แนวข้อสอบ นักวิชาการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติการ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ อัพเดท ธ.ค. 2561 รวบรวมเนื้อหา แนวข้อสอบ ตามประกาศรับสมัคร ในรูปแบบไฟล์ PDF และรูปเล่มหนังสือ บริการจัดส่งฟรี
สารบัญ เนื้อหาในเล่มหนังสือ นักวิชาการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติการ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
- ความรู้เกี่ยวกับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงินตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีกำหนด และ แนวข้อสอบพร้อมเฉลย
- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการสอบบัญชีและจรรยาบรรณทางวิชาชีพตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีกำหนด และ แนวข้อสอบพร้อมเฉลย
- พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553
- แนวข้อสอบ พรบ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553
- พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551
- แนวข้อสอบ พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560
- แนวข้อสอบ พรบ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560
- สรุปประมวลรัษฎากร
- แนวข้อสอบ ประมวลรัษฎากร
- ความรู้รอบตัว สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน
- เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
- ไฟล์เสียง MP3 เทคนิคการแต่งกาย และ ตัวอย่างสคริปคำตอบ การสอบสัมภาษณ์เข้างานราชการ
รีวิวผู้สอบผ่าน

ประวัติกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
งานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2459 อยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งในขณะนั้นงาน การตรวจบัญชีสหกรณ์ อยู่ในความรับผิดชอบของ แผนกงานสหกรณ์ กรมพาณิชย์ และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และต่อมา เมื่อมีการปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรมใหม่ จึงได้รับการ เลื่อนฐานะเป็น กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ อยู่ในสังกัดของ กระทรวงการสหกรณ์ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 ซึ่งต่อมา ก็ได้เปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับ กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2506 และเมื่อมี การยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติในปีพ.ศ. 2515 กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ก็เปลี่ยนมาขึ้นอยู่กับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนถึงปัจจุบันนี้
ระบบการตรวจสอบบัญชีสหกรณระบบการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ แต่เดิมนั้น ผู้ตรวจสอบบัญชี ทั้งหมดจะรวมกัน อยู่ที่ สำนักงานใหญ่ ของกรมฯ ใน กรุงเทพฯ เพียงแห่งเดียว และจะเดินทางออกไปเพื่อทำ การตรวจบัญชี ในจังหวัดต่างๆ เพียงปีละครั้ง หรือสองครั้งเท่านั้น แต่ละครั้ง จะใช้เวลาประมาณ 60 ถึง 90 วันซึ่งก็เป็นผลให้ การปฏิบัติงานเป็นไป ไม่คล่องตัวเท่าที่ควร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จึงได้เริ่มกระจายงานการตรวจสอบบัญชี ออกไปยังส่วนภูมิภาค โดยการจัดตั้ง สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ประจำจังหวัด ขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแนะนำด้านการเงิน การบัญชี ให้สถาบันเกษตรกร ได้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น ปัจจุบัน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มีสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ประจำอยู่ ทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 1 – 10 ทำหน้าที่คอยกำกับดูแลการปฏิบัติงานของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ซึ่งอยู่ในสังกัด
พันธกิจ
- พัฒนาระบบการตรวจสอบบัญชีและระบบควบคุมคุณภาพการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ให้เป็นไปตาม มาตรฐานสากล
- พัฒนามาตรฐานการบัญชีสหกรณ์และส่งเสริมความรู้การจัดทำบัญชีและการบริหารจัดการด้านการเงิน การบัญชีแก่สหกรณ์และเกษตรกร
- เสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินและระบบการควบคุมภายในที่ดีแก่สหกรณ์
- พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและการเตือนภัยทางการเงินแก่สหกรณ์
- พัฒนาระบบการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์และเกษตรกร
ภารกิจตามกฏหมาย
- ดำเนินการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ และกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดระบบบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชีให้เหมาะสมกับธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
- ให้คำปรึกษาแนะนำและให้ความรู้ด้านการบริหารการเงินและการบัญชีแก่คณะกรรมการและสมาชิกของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและบุคลากรเครือข่าย
- ถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมการจัดทำบัญชีให้แก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเป้าหมายตาม โครงการพระราชดำริ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป
- กำกับดูแลการสอบบัญชีสหกรณ์โดยผู้สอบบัญชีภาคเอกชน
- จัดทำรายงานภาวะเศรษฐกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบาย และวางแผนพัฒนาสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร
- ปฏิบัติการอื่นใดที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
admin –
►►อัพเดทใหม่ ธ.ค 2561◄ ◄
admin –
สมัครสอบได้ที่ https://cad.thaijobjob.com/